วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Team Development: A Tool for Organizing

 Team Development

 
 
           คำว่า ทีมงาน มีนักวิชาการได้ให้ความหมายหลายลักษณะ แต่ความหมายหลาย ๆ ความหมายจะเน้นความสำคัญอยู่ที่กลุ่มของบุคคลที่จะร่วมในกิจกรรมมีการเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน มีการวางแผนร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ตามพจนานุกรมไทยได้ให้ความหมาย ทีมงานไว้ดังนี้ ทีมงาน (Team work) หมายถึง ที่รวมกำลังกันทั้งคณะ
วู๊ดค็อก
และฟรานซิส (Wood cock and Francis, 1981 : 3) ให้ความหมายว่า ทีมงานหมายถึง กลุ่มคนที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันKatzenbach & Smith Douglas K. ให้ความหมายของทีมงาน หมายถึง การรวมตัวของบุคคลกลุ่มที่มีทักษะต่าง ๆ ที่ช่วยให้การทำงานของทีมมีความสมบูรณ์ขึ้น โดยมีข้อตกลง มีวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายในการทำงาน และมีแนวทางในการทำงานที่ทุกคนมีส่วนในการรับผิดชอบร่วมกัน
วิชัย
โถสุวรรณจินดา (2536) ให้ความหมายของการทำงานเป็นทีมว่า การที่บุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและผู้ปฏิบัติงานต่างก็เกิดความพอใจในการทำงานนั้น การทำงานเป็นทีมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การเนื่องจากทำให้วัตถุประสงค์รวมขององค์การประสบความสำเร็จสูงสุดโดย สมาชิกในทีมมีความพอใจในงานที่กระทำและมีความพึงพอใจเพื่อนร่วมงาน


         การสร้างทีมงาน หมายถึง การทำงานของกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ พยายามทำให้กลุ่มสามารถเรียนรู้วิธีการวินิจฉัยปัญหา ปรับปรุงความสัมพันธ์ในการทำงานให้ดีขึ้น ความร่วมมือร่วมใจประสานงานกันในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน วู๊ดค็อก (Wood cock 1989 : 75 - 116) ได้ให้แนวคิดองค์ประกอบของทีมงานที่มี ประสิทธิภาพจะต้องประกอบด้วย คุณลักษณะที่ดี คือ
            1)   บทบาทที่สมดุล
            2)   วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป้าหมายที่เห็นต้องกัน
                3)   การเปิดเผยต่อกันและการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา
                4) การสนับสนุนและการไว้วางใจต่อกัน
                5) ความร่วมมือและการใช้ความขัดแย้ง
                6) กระบวนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
               7) ภาวะผู้นำที่เหมาะสม
               8)   การทบทวนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
               9)   การพัฒนาตนเอง
              10)   ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
              11)   การสื่อสารที่ดี



รวบรวมข้อมูลโดย
 
นางสาวรุ่งลักษมี  รอดขำ
 
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น