วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Performance Prism : A Tool for controlling


Performance Prism
 
1.  หลักการ/แนวคิด
          Performance Prism เป็นกรอบแนวคิดที่สนับสนุนการบริหารผลงานขององค์กร ในลักษณะสนับสนุนการกำกับควบคุม (CONTROLLING TOOL) โดยให้ความสำคัญกับการระบุและวิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ รวมทั้งกระบวนการ และความสามารถที่สนับสนุนการบรรลุกลยุทธ์นั้นต่อไป ซึ่งเมื่อมีความชัดเจนทั้งกลยุทธ์ (Strategy) กระบวนการ (Processes) และความสามารถ (Capabilities) แล้ว จึงกำหนดตัวชี้วัด (Performance measures) ที่เหมาะสมสอดคล้อง เพื่อนำไปสู่การกำกับ ควบคุมให้การดำเนินงานแต่ละระดับขององค์กรเป็นไปตามกรอบแนวทางที่ได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมายความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

2.  องค์ประกอบของPerformance Prism วางเป้าหมายในการบริหารผลการดำเนินงานขององค์กร ใน 5 มิติ (ด้านของปริซึม) ที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่
     1. ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยพิจารณาว่าใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรและอะไรคือสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มต้องการ
     2. การสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยพิจารณาจากสิ่งที่องค์กรต้องการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม
     3. กลยุทธ์ โดยพิจารณากลยุทธ์หรือแนวทางปฏิบัติที่สามารถบรรลุความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในขณะเดียวกันก็สามารถตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
    4. กระบวนการ โดยพิจารณาถึงกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินงานเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้บรรลุตามเป้าหมาย
   5. ความสามารถ โดยพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินกระบวนการต่างๆ ให้สำเร็จ



        การพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 5 มิตินี้อย่างครบถ้วน จะสามารถช่วยองค์กรสร้างกรอบแนวทางการบริหารผลการดำเนินงานที่เหมาะสม เชื่อมโยงความสำเร็จจากการบรรลุเป้าหมายแต่ละองค์ประกอบ ไปสู่การบรรลุเป้าหมายองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ

 3.  เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
       Performance Prism ได้ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่น สามารถใช้ได้กับองค์กรธุรกิจหรือองค์กรไม่แสวงหากำไร หรือองค์กรที่มีขนาดใหญ่หรือเล็ก โดยลักษณะของปริซึม (Prism) ที่เมื่อผ่านด้วยแสง จะแยกแสงที่เราเห็นสีขาวออกเป็นสีต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ ด้วยลักษณะนี้ Neely และ Adams จึงใช้ปริซึมเป็นภาพที่แสดงถึงความซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ของการวัดประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารผลการดำเนินงานในแง่มุมต่างๆ

4.  ข้อดีและข้อเสีย
    ข้อดี (เมื่อเปรียบเทียบกับ BSC)

1.     ให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ผลสำเร็จขององค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

2.     มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับกลยุทธ์ วิธีการ ที่ไม่ประสบผลสำเร็จได้

3.     เป้าหมายจะพิจารณาใน 2 ด้าน คือความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการคาดหวังขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนกว่า
   ข้อเสีย
       1.     การวิเคราะห์ในแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งความคาดหวังและสิ่งที่จะส่งมอบให้กับองค์กรค่อนข้างระบุได้ยาก และอาจไม่ครบถ้วน หรือใช้ระยะเวลาการวิเคราะห์มาก ซึ่งต้องมีความชัดเจนจึงจะกำหนดกลยุทธ์ที่สนับสนุนต่อไปได้

5.  การนำไปใช้ประโยชน์
       ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานต่างๆ จะถูกกำหนดขึ้นเพื่อช่วยในการควบคุมทิศทางและการดำเนินงานให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยเป้าหมายสุดท้ายของการบรรลุผลสำเร็จก็คือความพึงพอใจตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะเป็นคำถามแรกๆ ที่ใช้ในการวางกรอบการบริหารผลการดำเนินงานขององค์กร

6. กรณีศึกษา
       DSL UK ใช้แผนผังความสำเร็จ เป็นเทคนิคในการสนับสนุนการเชื่อมโยงกลยุทธ์ กระบวนการ และความสามารถให้มีความสอดคล้องกันเพียงพอต่อการตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความคาดหวังขององค์กรที่ต้องการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปพร้อมๆ กัน วัตถุประสงค์ของแผนผังความสำเร็จนี้ คือการบ่งชี้ถึงจุดเชื่อมโยงวิกฤติ (Critical links) ด้วยการกำหนดกลยุทธ์ กระบวนการ และความสามารถอย่างเหมาะสมและสมดุลต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความคาดหวังขององค์กรที่ต้องการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
      นอกจากนี้ยังมีการใช้ในองค์กรไม่แสวงหากำไรได้แก่ London Youth (Merger of the London Federation of Clubs for Young People and the London Union of Youth Clubs)





ขอบคุณที่มาของข้อมูล
 
คุณสุรเดช  จองวรรณศิริ
 
 
 
 
 
รวบรวมโดย
 
นางสาวรุ่งลักษมี  รอดขำ
 
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น