วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Communication: A Tool for Leading


Communication

 
1) หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยในสหรัฐได้พัฒนาการศึกษานิเทศศาสตร์ที่เน้นสอนการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ (professional practice) ไปสู่การศึกษาวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ โดยแรงผลักดันส่วนหนึ่งจากอิทธิพลทางปัญญา (intellectual influence) ของนักวิชาการที่อพยพมาจากยุโรป อาทิ ลูอิน และลาซาร์สเฟลด์
            ทฤษฎีของการสื่อสารจึงเริ่มก่อตั้งขึ้น โดยค่อย ๆ แยกจากทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยา และภาษา กลายมาเป็นศาสตร์ไหม่ในตัวของมันเองที่เรียกว่า การสื่อสารมวลชน (mass communication study) มุ่งวิจัยผลของสื่อมวลชนที่มีต่อการเมือง สังคม และวัฒนธรรม เราเรียกทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มแรกนี้ว่า ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน (Mass Communication Theory) ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากผลงานของวิลเบอร์ ชรามม์ เมลวิน เดอเฟอร์ และเดนิส แมคเควล
            แต่กลุ่มทฤษฎีระบบ (Systems Theories) ของวีเนอร์ แชนนอน และวีเวอร์ (Wiener – Shannon – Weaver) และในเชิงการสื่อสารของมนุษย์ (Human Communication) ของเบอร์โล (Berlo) รวมทั้งในเชิงการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) ของไฮเดอร์ นิวคอมบ์ เฟสติงเกอร์ และออสกูด (Heider-Newcomb-Festiger-Osgood) ส่งผลให้การศึกษาด้านสื่อสารมวลชนขยายตัวออกไปครอบคลุมอาณาบริเวณของการสื่อสาร (communication spheres) ที่กว้างขวางขึ้น

2) เครื่องมือนี้คืออะไร / มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
           การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มี
วัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
           องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย 

1.      ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
              2.      ข้อมูลข่าวสาร (Message)
              3.      สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
              4.      ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
              5.      ช่องทาง (Channel) 

 

 3) เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร

องค์กรจำเป็นต้องมีการสื่อสารด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้

      1.      ลักษณะขององค์กร  
            2.      วัฒนธรรมขององค์กร 
             3.      ระดับและเป้าหมายขององค์กร   
             4.      ขนาดขององค์กร    
             5.      ความต้องการเป็นอิสระ      
             6.      คุณภาพของชีวิตในงาน     
      การบริหารจัดการภายในองค์กรจำเป็นจะต้องมีการสื่อสารด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ลักษณะขององค์กร 
วัฒนธรรมขององค์กร  ระดับและเป้าหมายขององค์กร ขนาดขององค์กร ความต้องการเป็นอิสระของบุคลากร และคุณภาพของชีวิตในการทำงานของบุคลากร   ดังนั้น ผู้บริหารในฐานะ   ผู้นำขององค์กรและเป็นศูนย์กลางของการสื่อสารภายในองค์กร จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง  ๆ ดังที่ได้กล่าวมาเพื่อให้การสื่อสารภายในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบทขององค์กรและนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้เป็นผลสำเร็จ

4) ข้อดี ข้อเสียของเครื่องมือ
         ข้อดี:
                 1.      เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
                 2.      เพื่อกระตุ้นและจูงใจ
                 3.      เพื่อประเมินผลการทำงาน
                 4.      เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในหมู่คณะ
                 5.      เพื่อวินิจฉัยสั่งการ
         ข้อเสีย:
                 1.      การบิดเบือนการสื่อสาร
                 2.      ภาระหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสาร

5)  ขั้นตอนการจัดทำ
              การสื่อสารในองค์กรในปัจจุบันนี้จำเป็นต้องหาข้อมูลข่าวสารให้ได้รวดเร็วกว่าในอดีต สำหรับการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีและเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เส้นทางของการสื่อสารในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีเส้นทางการสื่อสารเกิดขึ้นได้หลายทิศทางสรุปได้ดังนี้

1.  การสื่อสารจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง   การสื่อสารลักษณะนี้จะเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา

            2.  การสื่อสารจากเบื้องล่างขึ้นสู่เบื้องบน 

-   พนักงานให้ข้อมูลที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้บริหารและควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์กรได้อย่างมีระสิทธิภาพยิ่งขึ้น

- ทำให้ผู้บริหารรู้ว่าเมื่อไรที่พนักงานพร้อมที่จะรับข้อมูลข่าวสาร และยอมรับสิ่งที่ฝ่ายบริหารได้บอกกล่าวมามากน้อยเพียงใด

- ทำให้ผู้บริหารรู้ถึงสิ่งที่รบกวนบุคลากรที่อยู่ใกล้ชิดกับการปฏิบัติงานจริง ๆ และทำให้รู้ว่าพนักงานเข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารได้มากน้อยเพียงใด

- ทำให้เกิดความชื่นชมและความจงรักภักดีต่อองค์กรด้วยการให้พนักงานมีโอกาสถามคำถาม และให้ข้อเสนอแนะทางด้านการดำเนินงานขององค์กรอันจะช่วยให้พนักงานแก้ปัญหาการทำงานของเขาได้
              3.  การสื่อสารตามแนวราบ  ประกอบด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารระหว่างเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานเดียวกัน
             4.  การสื่อสารข้ามสายงาน ในองค์กรส่วนใหญ่ พนักงานอาจจะต้องส่งข้อมูลข่าวสารให้กับบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาของเขาเอง
 

6) มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
         สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย เปิดหลักสูตร EXCOMM –PRThailand 2 :กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ สร้างและรักษาชื่อเสียงองค์กรในภาวะวิกฤต สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย เปิดหลักสูตร Executive Communication Program : EXCOMM – PRThailandซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับการสื่อสารแบบมืออาชีพ ภายใต้ประเด็น กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์    การสร้างและการรักษาชื่อเสียงองค์กรในภาวะวิกฤต : Brand Communication, Reputation Guardian & Crisis Management ” ณ โรงแรมอโนมา ราชดำริ กรุงเทพฯ โดยได้รับความสนใจจากผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหาร นักวิชาการผู้ปฏิบัติงานทางด้านสื่อสารองค์กร ประชาสัมพันธ์ Brand Management นักการตลาด สื่อสารมวลชน สื่อ Digital เอเจนซี่ เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการธุรกิจในสาขาต่างๆ จากองค์กรทั้งภาครัฐ/เอกชน  ที่มา : http://www.prthailand.com/news/news-120610-01.shtml

7) กรณีศึกษา

ความพึงพอใจของพนักงานต่อการสื่อสารภายในองค์การ กรณีศึกษาบริษัท ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) จํากัด


การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความพึงพอใจของพนักงานต่อการสื่อสาร ภายในองค์การกรณีศึกษาบริษัทไฮไฟ โอเรียนท์ ไทย จํากัด โดยรวมทั้ง 6 ด้านได้แก่ ด้าน ความพึงพอใจในงาน ด้านความเพียงพอของข่าวสาร ด้านความสามารถเสนอแนะปรับปรุงให้ ดีขึ้นของบุคคล ด้านประสิทธิภาพของช่องทางการติดต่อสื่อสาร ด้านคุณภาพของสื่อกลาง และด้านวิธีการติดต่อสื่อสารเพื่อร่วมงาน โดยจําแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับ ตําแหน่ง และ รูปแบบการสื่อสาร (สุภา นานาพูลสิน : 2546) ที่มา : http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/research-view/research-221/

 

ขอบคุณที่มาของข้อมูล

คุณชูเกียรติ  เนื้อไม้

 

รวบรวมโดย

นางสาวรุ่งลักษมี   รอดขำ

DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น