Stakeholder Analysis
1)
หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
“ผู้ (ควร) มีส่วนร่วม” หรือ “ผู้มีส่วนได้เสีย”
หรือ “ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง” คำศัพท์คำว่า “stakeholder” ถูกริเริ่มและนำมาใช้ในการบริหารธุรกิจตั้งแต่ปี
ค.ศ.1708 โดยมีความหมายว่า “ผู้เดิมพัน” (Bisset, 1998 อ้างอิงโดย Ramírez,
1999) ต่อมา Freeman (1984) ได้ให้คำจำกัดความที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง“stakeholder”
คือ ผู้ที่สามารถดำเนินการ หรือสามารถได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำ คำว่า
“stakeholder” มาใช้อย่างกว้างขวางไม่เฉพาะในงานด้านการบริหารธุรกิจ
โดยมักจะใช้คำจำกัดความตาม Freeman (1984) หรือนำมาดัดแปลงและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกรณีศึกษา ซึ่งสามารถอ้างอิงรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
Mitchell et al. (1997), Ramírez (1999) และ Reedet al.
(2009) นอกจากนี้ยังมีการนำคำศัพท์อื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาใช้อีกด้วย
เช่น “interest group” (กลุ่มเป้าหมาย) “actor” (ผู้ดำเนินการ/ผู้กระทำ) “user” (ผู้ใช้งาน) “party” (ผู้เข้าร่วมดำเนินการ) เป็นต้น
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย
เป็นการวิเคราะห์กรณีปัญหาหรือวิเคราะห์โครงการข้อมูลของกลุ่มเพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารโครงการ
ในการจัดทำโครงการ หรือสร้างสรรค์แนวความคิดของผู้นำ
เครื่องมือนี้ใช้วินิจฉัย
å บ่งชี้ผู้มีส่วนได้เสีย
ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หน่วยงาน องค์กร
å อธิบายสิ่งที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
หรือความต้องการ
å รวบรวมแนวความคิดเกี่ยวกับปัญหา
å ระบุแหล่งทรัพยากร
(สิ่งที่ต้องการสนับสนุนหรือความพึงพอใจปรารถนาจะทำ)
å อำนาจการสั่งการ(Mandate) ส่วนใหญ่เป็นบทบาทของภาครัฐต่อการกระทำต่างๆ
4) ข้อดี –
ข้อเสียของเครื่องมือ
ข้อดี:1. ทำให้เข้าใจระบบ หรือปัญหา และความสัมพันธ์ต่างๆ ภายในระบบได้ดียิ่งขึ้น
2. ทำให้เข้าใจความสำคัญ บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
3. สามารถประเมินผลกระทบ (ทั้งด้านบวก และด้านลบ) ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น
4. สามารถประเมินความเสี่ยงในการดำเนินการ ประเมินความขัดแย้ง รวมทั้งความสอดคล้อง ทางทัศนคติที่เกิดขึ้น
5. ส่งเสริมบทบาทของกลุ่มคนที่มีบทบาทน้อย เช่น คนพื้นเมือง และชนกลุ่มน้อย
6. ช่วยในการประเมินระดับการมีส่วนร่วมและสามารถช่วยในการออกแบบกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
7. นำไปสู่การวางแผนนโยบายที่มีประสิทธิภาพ มีความยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสีย:
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นไม่มีกระบวนการที่แน่นอนตายตัว ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่จะนำไปใช้ วัตถุประสงค์ รวมทั้งลำดับขั้นตอนที่จะทำการวิเคราะห์ภายใต้กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาในภาพรวมทั้งหมด
5) ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
จำแนกภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการออกเป็นส่วนๆ
เพื่อนำไปสู่การพิจารณาถึงมิติของ บทบาทอิทธิพล
(influence) กับความสำคัญ (importance)- ระบุ stakeholder ส่วนที่องค์กรหรือกลุ่มต่างๆ ให้ครบถ้วน
- List รายชื่อคนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน
- ขั้นตอนต่อไป ลอง plot องค์กรลงไปก่อน เป็นแบบที่หนึ่ง พร้อมอธิบายความเกี่ยวข้องของกลุ่ม / องค์กร /หน่วยงานแล้ว Plot รายชื่อคนลงไป พร้อมกับระบุความเกี่ยวข้องของตัวแทน /บุคคลที่มีบทบาท
- นำผลที่ได้ทั้งสองเรื่องมาวิเคราะห์ตามมิติของบทบาทอิทธิพลและระดับความสำคัญ รวมทั้งพิจารณา ความสัมพันธ์ที่เรามีกับองค์กรและบุคคล ข้างต้นเพื่อเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะกำหนดงานที่จะทำกับองค์กรหรือคนเหล่านั้น ทั้งในนามองค์กรและส่วนตัว (ส่วนที่เป็นความสัมพันธ์) รวมทั้งคำนึงความสำคัญของบุคคล กลุ่ม และองค์กรที่เป็น importance แบบ soft power
6) มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
Stakeholder Communication LGแอลจีอีเลคโทรนิคส์ไดัรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับหลายส่วนทั้งในและต่างประเทศ ใช้ความพยายามในการระบุและความคิดเห็นและความต้องการของทุกฝ่าย ผลลัพธ์ได้สะท้อนถึงการบริหารจัดการที่โปร่งใส ยิ่งไปกว่านั้น , แอลจีอีเลคโทรนิคส์มีความใส่ใจต่อสังคม – สังคมของลูกค้าและคู่ค้ารอบโลกโดยไม่มีความสิ้นสุด
พนักงาน
แอลจีอีเลคโทรนิคส์ได้จ้างพนักงานที่มีความสามารถ
,
ผู้ซึ่งได้พยายามท้าทายตนเอง
ด้วยจิตใจเป็นธุรกิจและความคิดสร้างสรรค์ – การผสมผสานนี้ทำให้เกิดผลที่สูงสุด
แอลจีได้ให้คุณค่าต่อพนักงานที่อุทิศตนทำงานหนัก ตระหนักว่าความสามารถในการแข่งขันคงอยู่ได้ด้วยการสนับสนุนและคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถในงานที่ให้
ลูกค้า
แอลจี
อีเลคโทรนิคส์ได้พยายามที่จะดำเนินการระบบบริการลูกค้าโดยการฝึกอบรมวิศวกรบริการและใช้การประเมินผลจากลูกค้าซึ่งเน้นในการบรรลุเป้าหมายความพึงพอใจของลูกค้า
โดยให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรก เหตุผลและวัตถุประสงค์เบื้องหลังงานของเรา
เราได้นำตัวเราเข้าไปอยู่ในรองเท้าของลูกค้า
คู่ค้าทางธุรกิจ
ในการกระตุ้นและเริ่มต้นการแข่งขันที่เสรี
แอลจีได้ทำงานอย่างหนักเพื่อดำเนินการ “โปรแกรมความร่วมมือการค้าอย่างเสรี”
ขณะที่ทำการค้ากับคู่แข่งและผู้จำหน่าย
สนับสนุนกิจกรรมเพื่อการเติบโตและปรับปรุงกิจการในเครือทั้งธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางและการจัดการโปรแกรมแอลจีสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
7) กรณีศึกษา
การผนวกประเด็นความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบการประเมินประสิทธิภาพการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมซีเมนต์ไทยINCORPORATION OF MULTI-STAKEHOLDER INTEREST FOR A COMPREHENSIVEENVIRONMENTAL PERFORMANCE EVALUATION PROCEDURE : CASE STUDY OF A THAI CEMENT INDUSTRY.
ขอบคุณที่มาของข้อมูล
คุณชูเกียรติ เนื้อไม้
รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น