วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

PMQA : A Tool for Organizing


Public Sector Management Quality Award (PMQA)

1.  ประวัติความเป็นมา
            ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546-2550) กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานเพื่อยกระดับขีดความ สามารถและมาตรฐานการทำงานของหน่วยงานราชการให้อยู่ในระดับสูงเทียบเท่า มาตรฐานสากล โดยยึดหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี  การบริหารราชการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องมีเกณฑ์การประเมินกระบวนการทำงานและผลการปฏิบัติงานที่เป็นที่ยอม รับกันทั่วไป จึงได้นำแนวคิดและโครงสร้างของรางวัลคุณภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา The Malcolm Baldrige National Quality Award และรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศไทย (Thailand Quality Award : TQA) ซึ่งมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ของประเทศสหรัฐอเมริกา มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของราชการไทย

2. PMQA  คืออะไร?
            เป็นกรอบการบริหารจัดการองค์การ  ที่ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการนำไปใช้ในการประเมินองค์การด้วยตนเองที่ครอบคลุมภาพรวมในทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการปรับปรุงองค์การอย่างรอบด้าน

องค์ประกอบของ PMQA
       1.    ลักษณะสำคัญขององค์กรเป็นการอธิบายถึงภาพรวมของส่วนราชการ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
(ข้อมูลพื้นฐานหน่วยงาน) ความสัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(ประชาชน ส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรสถาบันภายนอกที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของกรม
       2.   เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ดีของส่วนราชการที่เป็นไป
ตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น เน้นความสอดคล้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่าง เป็นระบบ มีทั้งหมด 7 หมวด
มุงเน้นการพัฒนา 7 หมวด
             1. การนำองค์การ ในหมวดนี้จะว่าด้วยการกำหนด Mission , Vision,Objectives
             2. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์  ในหมวดนี้จะว่าด้วยการทำSWOT Analysis  เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายใน
            3.  การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการประเมินการกำหนดความต้องการ ความคาดหวัง และความนิยมชมชอบ การสร้างความสัมพันธ์ และการกำหนดปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจ
            4.  การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ในหมวดนี้จะว่าด้วยเรื่องของการทำInformation Technology Management และ Knowledge Management
            5.  การมุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคคล
           6.  การจัดการกระบวนการ เป็นการประเมินการจัดการกระบวนการ การให้บริการ และกระบวนการอื่นที่ช่วยสร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกระบวนการสนับสนุน เพื่อให้บรรลุพันธกิจขององค์การ
           7.  ผลลัพธ์การดำเนินการ เป็นการประเมินผลการดำเนินการและแนวโน้มของส่วนราชการในมิติด้านระสิทธิผล มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิภาพ และมิติด้านการพัฒนาองค์การ ในหมวดนี้จะว่าด้วยเรื่องของการทำPerformance EvaluationและKey Performance Index

3.  เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร

1.     ทั้ง 7 หมวด หน่วยงานราชการสามารถเลือกนำไปปฏิบัติครั้ง ละ 1-2 หมวด ตามยุทธศาสตร์ของ
หน่วยงานนั้นๆ
     2.       มีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
     3.       มีการกลับไปแก้ไขข้อผิดพลาดหลังจากมีการประเมินผล

 4.  ข้อดีและข้อเสียของของPMQA
                ข้อดีของPMQA :
                    1.  ส่วน ราชการได้ดำเนินการตรวจประเมิน องค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment) ซึ่งจะทำให้
ผู้บริหารทราบว่าส่วนราชการของตนมีความบกพร่องในเรื่องใด เพื่อจะได้กำหนดวิธีการ เป้าหมาย ที่ชัดเจน ในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงองค์กรให้สมบูรณ์มากขึ้นต่อไป
                   2.  ส่วน ราชการสามารถนำเกณฑ์ PMQA ไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการการดำเนินการ เพื่อ
ยกระดับการบริหารจัดการของส่วนราชการให้สามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีขึ้น ทั้งผลผลิตและบริการให้แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                  3.  เมื่อส่วนราชการมีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศจะเกิดภาพลักษณ์ที่ดี ได้รับความนิยมชมชอบ
จากผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
            ข้อเสียของPMQA:
                  1.    แต่ละหมวดมีความซับซ้อนและใช้องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการคนละด้านจึงจำเป็นต้องการ
ควบคุมจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
                 2.    เนื่องจากความซับซ้อนของแต่ละหมวด ส่วนราชการอาจจะไม่สามารถพัฒนาได้หลายๆหมวดพร้อมกัน อาจจะต้องมุ่งพัฒนาหมวดใดหมวดหนึ่งจนประสบผลสำเร็จจึงจะพัฒนาในหมวดอื่นๆต่อไป

           3.  การพัฒนาในแต่ละหมวดส่วนราชการจำเป็นจะต้องให้การสนับสนุนทางด้านงบประมาณจำนวนที่มาก
พอเพื่อให้การดำเนินการบรรลุผลและอีกทั้งอาจจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตในการใช้งบประมาณ
                4.   จำเป็นจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาแต่ละหมวดและที่สำคัญเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้นจำเป็นจะต้อง
ปรับตัวค่อนข้างสูงทำให้เสี่ยงต่อการที่จะไม่ได้รับความร่วมมือ

5.  มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้าง
              ตัวอย่างหน่วยที่นำเครื่องมือ PMQA ไปใช้ได้แก่ กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม 
กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ส่วนการปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ

ขอบคุณที่มาของข้อมูล
คุณอดิศร  อ้าย


รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี   รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น