วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Strategic Thinking : A Tool for Leading


Strategic Thinking

 

1.      หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
        การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการหาวิธีการหรือทางเลือกที่ดีที่สุด ท่ามกลางสถานการณ์ที่อาจมีอุปสรรคและความไม่แน่นอน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ นักบริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน การเรียนรู้ในเรื่องสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่การเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบข้างนั้น ก็ยังไม่อาจที่จะทำให้ประสบความสำเร็จที่แท้จริง ทักษะความคิดที่ดีที่สุดสำหรับนักบริหารคงหนีไม่พ้น ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) เพื่อทำให้ตนเองเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) เพื่อจะได้ใช้ประกอบกับความรู้ที่มี เพื่อคิดหาทางแก้ไขปัญหา และหาแนวทางที่ดีที่สุด สำหรับองค์กรต่อไป แนวคิดเชิงกลยุทธ์ มีอยู่ 6 แนวคิดคือ
            1.1 ความคิดในมุมมองขององค์รวม (Holistic Thinking) และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking)
            1.2 การปรับเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking)
            1.3 การมีวิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission)
            1.4 การมีความคิดในเชิงบูรณาการ (Innovative Thinking) และ ความคิดนอกกรอบ (Creative Thinking)
            1.5 การวางแผนทางเลือก (Scenario Planning) และ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
            1.6 Game Theory ของ John Nash

2. องค์ประกอบของการคิดเชิงกลยุทธ์และการใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์
            2.1  กำหนดเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง                                         
            2.2  วิเคราะห์และประเมินสถานะ
            2.3  การหาทางเลือกและการวางแผนกลยุทธ์
            2.4  วางแผนปฏิบัติการ
            2.5  การวางแผนคู่ขนาน
            2.6  การทดสอบในสถานการณ์จำลอง
            2.7  การวิพากษ์แผนเพื่อมองหาจุดอ่อน
            2.8  การลงมือปฏิบัติการ
            2.9  การประเมินผล  

 
3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร

                 (Strategic Thinking) เป็นตัวช่วยกำหนดว่าองค์กรควรจะมีเป้าหมาย เป็นอย่างไรในอนาคต ในขณะที่ระบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning Systems) จะช่วยเลือกหนทางที่จะพาองค์กรให้ไปถึงจุดหมายปลายทางที่ได้วางไว้ตามวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4.   ข้อดี / ข้อเสียของการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
         ข้อดี
             1.   ทำให้มองเห็นภาพอนาคตได้ชัดเจนขึ้น
             2.   เห็นจุดอ่อน/จุดแข็งของตนเองและคู่แข่งขัน อุปสรรคและโอกาสของความสำเร็จของงาน ทางออกที่หลากหลาย
             3.   สร้างแนวทางปฏิบัติให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง ควบคุมตัวเราให้ไปถึงจุดหมาย ทำให้เราตระหนักถึงผลได้ผลเสียของการตัดสินใจพัฒนาทักษะการตัดสินใจในสภาการณ์ต่าง ๆ
             4.   ช่วยให้ปรับตัวได้ภายใต้แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมไม่ให้หลงไปกับผลประโยชน์ระยะสั้น
             5.   ปลดปล่อยความคิดที่ติดยึดกับความสำเร็จในอนาคตและสร้างความได้เปรียบในสถานการณ์ต่างๆ
            6.   เพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จโดยมีการกำหนดเป้าหมาย และมีวัตถุประสงค์ล่วงหน้าในการทำสิ่งต่างๆอย่างชัดเจน
            7.   เป็นกระบวนการความคิด เกิดขึ้นเมื่อมีเป้าหมายบางอย่างที่ต้องการทำให้สำเร็จ
            8.   มีลักษณะยืดหยุ่นไม่ตายตัว แต่พลิกแพลงโอนอ่อนไปตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
     ข้อเสีย
            1.   หากแผนปฏิบัติการณ์ไม่มีความยืดหยุ่นพอ อาจส่งผลเสียหายให้แก่องค์กรได้
             2.   ผู้นำหรือผู้บริหารที่มีกลยุทธ์ในการคิด อาจจะมีไม่เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน ภายใต้สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

5.   ตัวอย่าง Strategic Thinking ในการวางแผนการดำเนินงาน
     ตัวอย่างที่ 1      แจ๊ค เวลช์ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารสูงสุดของเจนเนอรัล อิเล็กทริกส์ (General Electrics : GE) ในปีค..1981 ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะนำ GE ให้กลายเป็นบริษัทอันดับหนึ่งในธุรกิจทุกประเภทที่ GE เข้าไปมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ได้ลงมือปฏิรูปการทำงานในองค์กรตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร โครงสร้างการทำงาน ตลอดจนระบบบริหารด้านต่างๆผลที่ตามมาคือ GE ได้พัฒนาจากสภาพที่ไม่ค่อยรุ่งเรืองนัก เมื่อปี ค..1981 กลายเป็นบริษัทอันดับ 1 ของโลกในปี ค..1997 จากการจัดอันดับบิสซิเนส วีก โดย GE มีมูลค่าตลาดเกือบ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐและในปี ค.1999 บิสซิเนส วีก ได้จัดให้ GE มีผลกำไรเป็นอันดับ 1 ของโลก

     ตัวอย่างที่ 2 ร็อกกี้ เฟลเลอร์ อภิมหาเศรษฐีชาวอเมริกันผู้บริจาคเงินเพื่อมนุษยชาติถึง 750 ล้านเหรียญสหรัฐในอดีตนั้นยากจนมากต้องเริ่มทำงานตั้งแต่เด็กเคยทำงานขุดมันในไร่ท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนระอุเพื่อแลกกับเงินเพียง 4 เซ็นต์ต่อชั่วโมงแต่ด้วยความปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น และปณิธานที่แน่วแน่ที่จะใช้เงินเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้ไม่ต้องเผชิญความยากลำบาก เช่น ปณิธานที่แน่วแน่ทำให้เขาอุตสาหพยายามสร้างตัวเองขึ้นจนสามารถกลายเป็นมหาเศรษฐีของโลกและทำเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จจะเห็นว่าเมื่อเรามีเป้าหมายที่ต้องการให้ไปถึงอย่างชัดเจนจะพยายามหาวิธีการไปถึงเป้าหม้ายนั้นจากนั้นจึงดำเนินการตามวิธีการอย่างเต็มที่จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายที่ต้องการสิ่งที่ได้รับเรียกว่าความสำเร็จความต้องความประสบความสำเร็จนับเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนต่างปรารถนาได้รับความสุขและความพึงพอใจจากสิ่งที่เราทามสำเร็จ ความสำเร็จนำมาซึ่งความภาคภูมิใจการเห็นคุณค่าในตัวเองยิ่งทำสิ่งต่างๆได้สำเร็จมากเท่าใดความรู้สึกนับถือและเชื่อมั่นในตนเองยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นความพึงพอใจในชีวิตย่อมเพิ่มทวีขึ้นตามมาในทางตรงกันข้ามเมื่อไม่สามารถทำในสิ่งที่ตั้งใจไว้ได้สำเร็จประสบความล้มเหลวในการทำสิ่งต่างๆอยู่เสมอย่อมส่งผลให้ความเชื่อมั่นในตนเองลดลงการเห็นคุณค่าในตนเองลดน้อยลงขาดความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต สิ่งที่ตามมาคือความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังและหมดกำลังใจในการดำเนินชีวิต

 6.   การใช้ Strategic thinking ในการดำเนินงาน

          -      ดร.สุมาส วงศ์สุนพรัตน์ : Strategic-Thinking Leader :  บทความการตลาด ตัวอย่างแผนการตลาด กลยุทธ์การตลาด ข่าวการตลาด

7.   กรณีศึกษา
            เมื่อห้าปีที่แล้ว บริษัท Media Publishing ประสบภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ     10 ปี ทำให้ผู้บริหารต้องคิดกลยุทธ์ใหม่ในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยมีการดำเนินการ ดังนี้
            7.1 กำหนดเป้าหมาย     
            7.2 วิเคราะห์สถานการณ์ภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก          
            7.3 วิเคราะห์อนาคต 
            7.4 ทางเลือกกล
            7.5 วิเคราะห์ทางเลือกกลยุทธ์
            7.6 จัดอันดับทางเลือกกลยุทธ์     
            7.7 การเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุด
            ในที่สุดบริษัท Media Publishing กลายเป็นสำนักพิมพ์ที่มีสภาพการหมุนเวียนเงินสดคล่องตัวอย่างมาก และเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ

ขอบคุณที่มาของข้อมูล
คุณเนตรนภา  รักษายศ



รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น