วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

PDCA : A Tool for Leading


PDCA : วงจรการบริหารคุณภาพ

1.  ประวัติความเป็นมา
            เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักสถิติ ชื่อ  Walter Shewhart  ซึ่งได้พัฒนาจากการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติที่ Bell Laboratories ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อทศวรรษ  1930 เป็นที่รู้จักกันในชื่อ วงจร Shewhart”  และเมื่อทศวรรษ 1950 ได้มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางโดย W.Edwards Deming  ปรมาจารย์ทางด้านการบริหารคุณภาพ  หลายคนจึงเรียกวงจรนี้ว่า  วงจร Deming”   เริ่มแรก Deming ได้เน้นถึงความสัมพันธ์ 4 ฝ่าย
ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพ และความพึงพอใจ ของลูกค้า ได้แก่  ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายผลิต  ฝ่ายขาย และฝ่ายวิจัยความสัมพันธ์ของทั้ง 4 ฝ่ายจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพของสินค้าตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  โดยให้ถือว่าคุณภาพต้องมาก่อนสิ่งใด  ต่อมาแนวคิดเกี่ยวกับวงจร
Deming ได้ถูกดัดแปลงให้เข้ากับวงจรการบริหาร ประกอบด้วย การวางแผน (P)  การปฏิบัติ (D)  การตรวจสอบ (C) และการดำเนินงานให้เหมาะสม (A)


2. องค์ประกอบของ PDCA


         

 

 

 

 
3. เครื่องนี้ใช้เพื่ออะไร
        สำหรับการบริหารคุณภาพของการดำเนินธุรกิจทั้งวงจร ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านการวางแผน   การปฏิบัติ  การตรวจสอบ    การดำเนินงานให้เหมาะสม  เพื่อปรับปรุงการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
 4.  ข้อดีและข้อเสีย
          1. การวางแผนงานก่อนการปฏิบัติงาน จะทำให้เกิดความพร้อม เมื่อได้ปฏิบัติงานจริง
          2. ทำให้ทราบขั้นตอน วิธีการ และสามารถเตรียมงานล่วงหน้าหรือทราบอุปสรรค์ล่วงหน้า ทำให้งานเกิดความราบรื่น เรียบร้อยนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
         3. การตรวจสอบให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้  ประกอบด้วย
                        3.1 ตรวจสอบจากเป้าหมายที่กำหนด
                        3.2 มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้
                        3.3 มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน

                       3.4 มีกำหนดเวลาการตรวจสอบที่แน่นอน
                       3.5 บุคลากรที่ทำการตรวจสอบต้องได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            4. การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใด เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น

5.  ขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนของวงจร PDCA ประกอบด้วย
            1. การวางแผน (Planing)    จะต้องครอบคลุมถึงการกำหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง  พิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลใดบ้าง  โดยมีการระบุวิธีการเก็บข้อมูลให้ชัดเจน  วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ และกำหนดทางเลือกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
           2. ขั้นตอนการปฏิบัติ (Do) เป็นขั้นตอนของการลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้
กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผน ในระหว่างการปฏิบัติต้องตรวจสอบด้วยว่าได้ดำเนินไปในทิศทางที่ตั้งใจหรือไม่ พร้อมกับการประสานงานหรือ สื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ
          3.  ขั้นการตรวจสอบ (Check) เป็นขั้นตอนของ การประเมินผลที่ได้รับจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ในแต่ละขั้นตอน  สิ่งสำคัญต้องรู้ว่าจะตรวจสอบอะไรบ้าง  บ่อยครั้งแค่ไหน ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบจะเป็นประโยชน์สำหรับขั้นตอนต่อไป  ผลที่เกิดขึ้น  วิธีการปฏิบัติใดมีประสิทธิผลที่สุด ก็จะจัดให้เป็นมาตรฐาน หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ก็ต้องหา
          4. ขั้นตอนดำเนินงานที่เหมาะสม
(Action) โดยการมองหาวิธีการปฏิบัติใหม่หรือใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม  ซึ่งจะพิจารณาผลที่ได้จากการตรวจสอบ ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี  คือ
                กรณีที่ 1  ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ 
                กรณีที่ 2 ผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้  - มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้
                            - ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม
                             - ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้
                             - เปลี่ยนเป้าหมายใหม่


6.  มีใครนำเครื่องมือนี้มาใช้

สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่อง นับตั้งแต่กิจกรรมส่วนตัว เช่นการปรุงอาหาร  การเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน  การตั้งเป้าหมายชีวิต  การดำเนินงานในระดับบริษัท  จนกระทั่งระดับสถาบันการศึกษา หรือนำมาใช้ในระบบประกันคุณภาพการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น