Industry Analysis : หลักการวิเคราะห์อุตสาหกรรม
1. หลักการ/แนวคิด
โลกมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง แนวคิดของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ใช้ในการบริหาร งานทางธุรกิจ หรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจ เป็นพัฒนาต่อเนื่องจากวิธีวิจัยปฏิบัติการ
(Operation Research) ซึ่งเป็นแนวคิดในการประเทศอังกฤษ
และอเมริกาในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่มีการประสานการปฏิบัติงานในทางทหาร
ซึ่งเป็นผลสำเร็จเป็น อย่างดี
และต่อมาได้มีการประยุกต์ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและธุรกิจ การวิเคราะห์อุตสาหกรรมของ IC&M จะทำการวิเคราะห์โครงสร้างของอุตสาหกรรมด้วยระเบียบวิธีทางการวิจัย
โดยมุ่งเน้นเรื่องการทำความเข้าใจในความต้องการขององค์กรเครื่องมือนี้ประกอบด้วย
1 การวิเคราะห์โครงสร้างของอุตสาหกรรม ได้แก่การวิเคราะห์ว่าอุตสาหกรรมนั้นมีโครงสร้างแบบผูกขาด
กึ่งผูกขาด หรือแข่งขันอย่างสมบูรณ์
ลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรมจะมีความสำคัญในการวิเคราะห์โครงสร้างราคาและความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของสินค้า
2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทาน อุปสงค์และอุปทานจะมีผลกระทบต่อราคาดุลยภาพของอุตสาหกรรมนั้น
ๆ และมีผลกระทบต่อความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพในระดับราคาที่น่าพอใจ
3 การวิเคราะห์ตัวแปรทางด้านต้นทุน โดยทั่วไปต้นทุนของสินค้าได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ
อาทิ วัตถุดิบที่มีอยู่ ค่าแรง เป็นต้น 4
การวิเคราะห์กฎระเบียบข้อบังคับของรัฐบาล ผู้วิเคราะห์จำเป็นต้องพิจารณากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนั้น
ๆ เพื่อให้ทราบบรรทัดฐานที่รัฐบาลกำหนดไว้
การเปลี่ยนแปลงหรือการออกกฎหมายใหม่อาจทำให้อุตสาหกรรมบางประเภทสูญเสียสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงได้
2. องค์ประกอบของ Industry Analysis
1.
การวิเคราะห์โครงสร้างของอุตสาหกรรม ได้แก่การวิเคราะห์ว่าอุตสาหกรรมนั้นมีโครงสร้างแบบผูกขาด
กึ่งผูกขาด หรือแข่งขันอย่างสมบูรณ์
ลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรมจะมีความสำคัญในการวิเคราะห์โครงสร้างราคาและความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของสินค้า
2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทาน อุปสงค์และอุปทานจะมีผลกระทบต่อราคาดุลยภาพของอุตสาหกรรมนั้น ๆ และมีผลกระทบต่อความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพในระดับราคาที่น่าพอใจ
3. การวิเคราะห์ตัวแปรทางด้านต้นทุน โดยทั่วไปต้นทุนของสินค้าได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ อาทิ วัตถุดิบที่มีอยู่ ค่าแรง เป็นต้น
4. การวิเคราะห์กฎระเบียบข้อบังคับของรัฐบาล ผู้วิเคราะห์จำเป็นต้องพิจารณากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนั้น ๆ เพื่อให้ทราบบรรทัดฐานที่รัฐบาลกำหนดไว้ การเปลี่ยนแปลงหรือการออกกฎหมายใหม่อาจทำให้อุตสาหกรรมบางประเภทสูญเสียสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงได้
3. เครื่องมือใช้เพื่ออะไร
เป็นการวิเคราะห์ภาวะ อุตสาหกรรมของบริษัทที่สนใจลงทุน
ว่ามีลักษณะและแนวโน้มที่ดีหรือไม่
โดยใช้หลักการพิจารณาจากอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม (Growth) ช่วงวงจรชีวิตของอุตสาหกรรม (Industry Life Cycle) ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม (Competition) และสามารถนำมาพิจารณาศักยภาพในการทำกำไรในระยะยาวได้
เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนต่อไป
4. ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี : ในการวิเคราะห์ภาวะการแข่งขันเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ผู้ลงทุนจะวิเคราะห์อุตสาหกรรม
เพื่อพิจารณาว่าแต่ละอุตสาหกรรมนั้นมีความแข็งแกร่งทางด้านการแข่งขันเพียงใด และสามารถนำมาพิจารณาศักยภาพในการทำกำไรในระยะยาวได้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนต่อไป
ข้อเสีย : ข้อมูลการในการวิเคราะห์อุตสาหกรรมของคู่แข่งใหม่และสินค้าทดแทนไม่มีหรือมีไม่
ครบถ้วน ก็อาจทำให้บริษัทเกิดความเสี่ยง อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ หรืออำนาจการต่อรองของบริษัทผู้ขายวัตถุดิบ ก็อาจส่งผลทำให้ยากต่อการขายสินค้าและทำให้ การทำธุรกิจเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะราคาต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ส่งผลให้กำไรที่ได้ลดต่ำลง
5. ขั้นตอนการวิเคราะห์อุตสาหกรรม Industry Analysis อาจจะใช้เครื่องมือ Five Forces Model ของPorter สำหรับกำหนดข้อวิเคราะห์การแข่งขัน เพื่อเป็นการวิเคราะห์การแข่งขันในอุตสาหกรรมพิจารณาดังนี้
1. ข้อจำกัดในการเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งขันใหม่ (Threat of new entrants) จะดูความยาก
ง่ายของผู้เข้ามาใหม่ ความได้เปรียบในเรื่องขนาดและ volumeการผลิตที่สูง ความแตกต่างที่เป็นลักษณะเฉพาะ ความเชื่อถือในแบรนด์
2. อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ (Bargaining power of suppliers) จะดูที่อำนาจการต่อรอง
ของผู้ค้า จำนวนมาก/น้อยราย จำนวนวัตถุดิบที่ต้องการซื้อมาก/น้อย
3. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining power of buyers) ดูแรงกดดันของผู้ซื้อที่ทำให้ผู้ขายต้อง
ลดราคาลง หรือปรับคุณภาพสินค้า/บริการให้ดีขึ้น อำนาจการต่อรองขึ้นอยู่กับผู้ซื้อหรือผู้ขาย
4. ความเสี่ยงจากสินค้า/บริการทดแทน (Threat of substitute products or services) มีสินค้า
หรือบริการที่สามารถทดแทนหรือไม่ ลูกค้าเปลี่ยนความต้องการไปจากความต้องการแบบเดิม ซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขันในเรื่องของการตัดราคาหรือคุณภาพมากขึ้น
5. ความรุนแรงของการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม/คู่แข่งในอุตสาหกรรม (Rivalry among
existing competitors) ดูที่จำนวนของคู่แข่งที่มีใน อุตสาหกรรม อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม ใช้เพื่อดูสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม (Competition) และคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมนั้น ๆ และใช้ในการประกอบการตัดสินใจ
6. มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้าง
Flavian C. Haberberg A. และโปโลวาย (2002) วิเคราะห์อุตสาหกรรมเปรียบเทียบในสหราชอาณาจักรและสเปน,เรื่องกลยุทธ์การค้าปลีกอาหารในสหภาพยุโรป A comparative analysis
in the UK and Spain, Journal of Retailing & Consumer Services, Vol. , ในวารสารบริกาสรุปผล
การวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจที่ผู้ลงทุนควรทราบก่อนการตัดสินใจลงทุนในหุ้นแล้ว
ข้อมูลสำคัญอีกประเภทหนึ่งที่ผู้ลงทุนควรวิเคราะห์ คือ “ข้อมูลระดับอุตสาหกรรม”
เนื่องจากอุตสาหกรรมแต่ละอุตสาหกรรมมีลักษณะโครงสร้างและการดำเนินงานที่แตกต่างกัน
ดังนั้นผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะกระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละอุตสาหกรรมย่อมไม่เท่ากัน
ดร. จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ. การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการตลาด 1.
ค้นเมื่อวันที่
18 พฤษภาคม 2554.
จากเว็บไซต์ http://sites.google.com/site/ibusinessplan/Home/kar-wikheraah-khwam-pen-pi-di-thangkar-tlad-1
Flavián C., Haberberg A. and Polo Y. (2002) Food
retailing strategies in the European Union. Flavian ซี Haberberg A. และโปโลวาย (2002) กลยุทธ์การค้าปลีกอาหารในสหภาพยุโรป
ขอบคุณที่มาของข้อมูล
พ.อ.
สถาพร สุขสมบูรณ์นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น