Brainstorming
1. ประวัติความเป็น/แนวคิด
ออสบอร์น
(Alex F.
Osborne)
กล่าวว่าการระดมสมองให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา
โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี
ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ
พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้
ส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็นทุกชนิด
การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จ
Brainstorming เป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อรวบรวมความคิดเห็น
ปัญหา หรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว อย่างเป็นแบบแผน
และเป็นวิธีการที่ดีในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมแนวคิดการระดมสมอง มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ Brain Storming คำแรก คือ Brain หมายถึงสมอง ส่วนคำหลัง Storming หมายถึงพายุที่โหมกระหน่ำ แนวคิดแปลตรงๆ ก็คงหมายถึงการมุ่งใช้พลังความสามารถทางการคิดของสมองของมวลสมาชิกในกลุ่ม เพื่อคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
2.
เครื่องมือนี้คืออะไร
การปรับแนวความคิดร่วมกันระหว่างสมาชิก
เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ปัญหา เปิดโอกาศให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น องค์ประกอบ Brainstorming
1. กำหนดปัญหา
2. แบ่งกลุ่ม และอาจเลือกประธานหรือเลขา เพื่อช่วยในการอภิปรายและบันทึกผล
3. สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด โดยปัญหาของแต่ละกลุ่มอาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
4. คัดเลือกทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ หรือเหมาะสมที่สุด
5. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน
6. อภิปรายและสรุปผล
เครื่องมือการBrain Stormingคือการร่วมกันออกความคิด
แสวงหาทางเลือกในการตัดสินใจและ
ใช้ในการการวางแผน ในภาษาไทยไว้เรียกว่า การระดมสมอง กับ การระดมความคิดปัจจุบันพบว่ามีการพยายามใช้คำว่า การระดมความรู้และประสบการณ์ เพื่อ
แสวงหาความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด
4. ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี. มีกระบวนการแก้ปัญหาและมีคุณค่ามากที่จะใช้เพื่อแก้ปัญหา,
ก่อให้เกิดแรงจูงใจสูง และฝึกการยอมรับความเห็นที่แตกต่างกัน, ได้คำตอบหรือทางเลือกได้มาก ภายในเวลาอันสั้น, ส่งเสริมการร่วมมือกัน ประหยัดค่าใช้จ่ายและการจัดหาสื่อเพิ่มเติมอื่นๆ
ข้อเสีย/ข้อจำกัด. ประเมินผลแต่ละคนได้ยาก, อาจมีส่วนน้อยเพียงไม่กี่คนครอบครองการ
อภิปรายส่วนใหญ่มักพบในการประชุมระดับชาติส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาทาง
5. ขั้นตอนกำหนดการระดมสมอง
ซึ่งประกอบด้วย 4 ประการ
ได้แก่
1.
การแสดงความคิดออกมา
(Expressiveness) สมาชิกทุกคนต้องมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ในการที่จะแสดงความคิดเห็นใด ๆ ออกมาจากจิตใจ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นความคิดที่แปลกประหลาด กว้างขวาง ล้าสมัย หรือเพ้อฝันเพียงใด
2. การไม่ประเมินความคิดในขณะที่กำลังระดมสมอง (Non – evaluative)
ความคิดที่สมาชิกแสดงออกต้องไม่ถูกประเมินไม่ว่ากรณีใด ๆ เพราะถือว่า ทุกความคิดมีความสำคัญ ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ความคิดผู้อื่น การแสดงความเห็นหักล้าง หรือครอบงำผู้อื่นจะทำลายพลังความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่ม ซึ่งส่งผลทำให้การระดมสมองครั้งนั้นเปล่าประโยชน์
3. ปริมาณของความคิด (Quautity) เป้าหมายของการระดมสมองคือ
ต้องการให้ได้ความคิดในปริมาณมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แม้ความคิดที่ไม่มีทางเป็นจริงก็ตาม เพราะอาจใช้ประโยชน์ได้ในแง่การเสริมแรง หรือการเป็นพื้นฐานให้ความคิดอื่นที่ใหม่และมีคุณค่า ยิ่งมีความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากเพียงใดก็ยิ่งมีโอกาสค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่ดี
4. การสร้างความคิด (Building) การระดมสมองเกิดขึ้นในกลุ่ม ดังนั้น
สมาชิกสามารถสร้างความคิดขึ้นเองโดยเชื่อมโยงความคิดของเพื่อนในกลุ่ม โดยใช้ความคิดของผู้อื่นเป็นฐานแล้วขยายความเพิ่มเติมเพื่อเป็นความคิดใหม่ของตนเอง
6.
มีใครนำBrainstorming
ไปใช้
ในการให้โอกาสแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่างๆได้รับความเห็นหลายๆด้านทำให้กลุ่มมีโอกาสในการพิจารณาเลือกหลายสิ่งสร้างกลุ่มให้เกิดความคิดใหม่ๆในการสร้างสรรค์และนำไปใช้เพื่อความก้าวหน้าของกลุ่ม
7. กรณีศึกษา
คุณอัยพร ขจรไชยกูล นักบริหารการตลาด จุดมุ่งหมายหลักของการระดมความคิด
คือ เพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดใหม่ การระดมความคิดไม่เหมาะกับงานเชิงปฏิบัติ
งานซึ่งต้องได้รับการแก้ไขใน เชิงปฏิบัติ เช่น ปัญหาด้านเทคนิค ด้านเครื่องกล
ปัญหาที่เหมาะกับการระดมความคิดคือปัญหาที่ไม่ใช่เชิงปฏิบัติการ เช่น ปัญหาแบบ บทสรุป ทางการบริหารมักใช้เพื่อแสวงหาทางเลือกในการตัดสินใจและการวางแผนต่างๆ สมาชิก
ที่จะร่วมในการประชุมเพื่อระดมสมองควรเป็นผู้ที่มีความรู้และเกี่ยวข้องในเรื่องที่จะระดมสมอง
แหล่งอ้างอิง
Costin H. Management development and training : a TQM approach. London : The Dryden Press, 1996. 26 กรกฎาคม 2544
ขอบคุณที่มาของข้อมล
พ.อ.
สถาพร สุขสมบูรณ์
รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น