วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ด้าน Organizing : CG


Corporate Governance/CG
 
1. หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย
                หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น : ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในความเป็นเจ้าของ โดยควบคุมบริษัทผ่านการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ให้ทำหน้าที่แทนตน  และมีสิทธิใกนารตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของบริษัท บริษัทจึงควรส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิของตน

                หมวดที่ 2  การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน:  ผู้ถือหุ้นทุกราย ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นที่ไม่เป็นผู้บริหาร  รวมทั้งผู้ถือหุ้นต่างชาติควรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันและเป็นธรรม  ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ถูกละเมิดควรได้รับการชดเชย

                หมวดที่ 3  บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย :ผู้มีส่วนได้เสียควรได้รับการดูแลจากบริษัทตามสิทธิที่มีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการควรพิจารณาให้มีกระบวนการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างความมั่งคั่ง ความั่นคงทางการเงินและความยั่งยืนของกิจการ

                หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส :คณะกรรมการควรดูแลให้ บริษัทเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส ผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ

                หมวดที่ 5  ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ :คณะกรรมการมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูกิจการเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท คณะกรรมการมีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้นและเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการ

หมวดที่ 1,2 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้น  ,หมวดที่ 4 และ 5 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ ซึ่งทั้งผู้ถือหุ้นและคณะกรรมการถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ  แต่สำหรับหมวดที่ 3 เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักการดำเนินกิจการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ( Corporate Social Responsibility (CSR)) (อุษณา ภัทรมนตรี:2552)

2.  องค์ประกอบของ Corporate  Governance
 

 
3.  เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
                การกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการฝ่ายบริหารระดับสูงสำหรับบริษัทมหาชน บริษัทจดทะเบียน กระทรวง และรัฐวิสาหกิจ ในการจัดโครงสร้างและกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลแห่งอำนาจกับผู้บริหารที่มีหน้าที่บริหารควบคุมการปฏิบัติงานโดยตรง เพื่อให้การบริหารจัดการในระดับสูงมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการนั้น

4.  ข้อดีและข้อเสีย Corporate Governance

ข้อดี :เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectveness) ,การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและการรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility and Accountability) ,เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ,การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น(Shareholder Values) และการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Confidence) (อุษณา ภัทรมนตรี:2552)

5.  ขั้นตอนการสร้างCorporate Governance

 
เมธา  สุวรรณสาร (2012)

6.  ใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้าง
            SE-CE เล็งเห็นความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการทีดี  เพื่อส่งเสริมระบบบริหารจัดการที่ดี โปร่งใส ชัดเจน ตรวจสอบได้ โดยจะช่วยให้บริษัทฯ มีความสามารถในการแข่งขัน และการอยู่ร่วมกันในธุรกิจแบบพึ่งพาอาศัยกัน   เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน หน่วยงานกำกับดูแล ผู้มีส่วนได้เสีย และก่อให้เกิดความเชื่อมโยงของกรอบความคิด ที่จะร่วมกันผลักดันให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเท่าเทียมกัน และเพื่อเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมให้สามารถบรรลุสู่เป้าหมายของบริษัท ที่จะเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  สำหรับผลที่ได้รับจาการนำ CGมาใช้เพื่อให้องค์เกิด ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล และตรวจสอบได้ ด้วยความรับผิดชอบและสายตาอันยาวไกลของผู้บริหารตลอดจนการยึดมั่นในจรรยาบรรณทางธุรกิจ  บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะขอเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนไทย และเป็นบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีของสังคมไทย ซึ่งบริษัทฯได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับ ดีมาก ประจำปี 2549 จากThai Institute of Directors

7.  กรณีศึกษา

                สำหรับองค์กรที่นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้แก่บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทุกบริษัทต้องมีการจัดทำการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น