วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

Benchmarking : A Tool for Planning


Benchmarking

 1.  หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
           Benchmarking  เป็นศัพท์ในการสำรวจทางธรณีวิทยาที่ใช้ในการวัดระยะโดยเปรียบเทียบกับจุดอ้างอิง ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของ พอล เจมส์ โรแบร์(2543:10-11) ที่กล่าวว่ามีการนำ Benchmark มาใช้ในการสำรวจธรณีวิทยาของประเทศสหรัฐอเมริกา(U.S. Geological Survey)และถูกยืมมาใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารงานที่ถูกพัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1980 เป็นการวัดระยะ โดยเปรียบเทียบกับจุดที่ใช้อ้างอิง

2.  เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร
            “Benchmarking” คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) จากองค์กรอื่นภายใต้กฎกติกาสากล โดยมีแนวคิดที่ว่า องค์กรไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ยังมีองค์กรที่เก่งมากกว่าในบางเรื่อง การศึกษาจากประสบการณ์ตรงขององค์กรอื่นแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะช่วยประหยัดเวลาและลดการลองผิดลองถูก Benchmarking จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด

3.  เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
- เพื่อความยั่งยืนขององค์กร : ยกระดับความสามารถของตนเองเพื่อให้แข่งขันได้ จึงต้องมีการเรียนรู้และปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง
            - เพื่อการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด : เป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นนวัตกรรม (Innovation) ในองค์กร ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงปรับปรุงในระยะเวลาอันสั้น

4.  ข้อดีและข้อเสีย
      ข้อดี:

- นำข้อมูลมาปรับปรุงองค์กรของตน เพื่อเกิดแนวทางในการปรับปรุงกลยุทธด้านต่างๆ

- เห็นภาพรวมขององค์กรชัดเจนและ เกิดการเรียนรู้สิ่งที่ดีๆ จากหน่วยงานอื่น

- เกิดความพร้อมในการรับสภาพต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

     ข้อเสีย

-  บุคลากรต้องรู้รายละเอียดองค์กรอย่างดี เพื่อจะได้ทราบว่าตนมีจุดเด่น หรือจุดด้อยอย่างไร

- ต้องเลือกองค์กรที่ได้รับการยอมรับ เพื่อจะได้นำจุดดีมาปรับปรุง

- ข้อมูลที่เป็นความลับทางองค์กร ค่อนข้างจะหายาก

- ในบางครั้งอาจต้องใช้ระยะเวลานาน งบประมาณสูง

5.  ขั้นตอนการจัดทำ  ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ
           1. การวางแผน
                        - กำหนดเรื่องที่จะทำ Benchmarking
                        - กำหนดผู้ที่ต้องการเปรียบเทียบด้วย
                        - กำหนดวิธีการเก็บข้อมูล และเก็บข้อมูล
          2. การวิเคราะห์
                        - วิเคราะห์ความแตกต่าง (Gap) ปัจจุบัน
                       - ประมาณแนวโน้มความแตกต่างในอนาคต

          3. การบูรณาการ
                       - สื่อผลการวิเคราะห์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

                        - ตั้งเป้าหมาย (Function Goals)
          4. การปฏิบัติ

                        - จัดทำแผนปฏิบัติการ
                        - นำไปปฏิบัติจริงและติดตามผล

                        - ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 

6. มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
                - รณินทร์ กิจกล้า ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนสถาบันพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชุมชนไทย อาจารย์ประจำวิชาการเมืองและนโยบายสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัยในพระราชูปถัมภ์   E-mail : siamenvironment@yahoo.com

7.กรณีศึกษา
          - องค์กรแรกคือ Xerox Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นที่มีราคาต่ำกว่าได้               

 

ขอบคุณที่มาของข้อมูล
                                                                คุณอภิชา  กิจเชวงกุล

 

รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี  รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น